วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มะนาว กับ โรคแคงเกอร์

โรคแคงเกอร์ โรคที่สำคัญของมะนาว

โรคแคงเกอร์ เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye. ซึ่งจัดเป็นโรคที่มักจะคอยสร้างปัญหา ให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะนาวและผู้ที่ปลูกพืชตระกูลส้มทั้งหลายกันเป็นจำนวนมาก เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน

ลักษณะของโรคแคงเกอร์ในมะนาว :
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในแทบทุกส่วนของต้นมะนาว ทั้งที่ใบ ที่กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลไหม้มีลักษณธกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด

การแพร่ระบาดของโรคแคงเกอร์ในมะนาว :เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำและลมฝน โดยจะเข้าสู่ต้นมะนาวจากทางเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วยการป้องกันกำจัด