วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคทริสเตซ่า ในมะนาว Lime

โรคทริสเตซ่า ในมะนาวเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส การแพร่ระบาดของโรคนี้จะติดไปกับกิ่งตอน และจะใช้เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะนำโรค สามารถเข้ามาทำลายได้ที่ใบ กิ่ง และลำต้น แต่อาการที่เกิดขึ้นบนใบจะสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนกว่าส่วนอื่นของมะนาว โตยจะพบได้ว่าต้นมะนาวที่โดนโรคทริสซ่าเข้าทำลาย จะมีใบอ่อนที่มีขนาดเล็กลง หรือมีลักษณะหงิกงอ โดยสีของใบจะเป็นสีเขียวหรือเหลือด้านๆ และมีขีดโปร่งใสสั้นๆ สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงจะมีขีดที่สังเกตุได้อย่างเด่นชัดขึ้น และเส้นจะเป็นสีน้ำตาล ใบจะหลุดร่วงได้ง่าย ส่วนอาการที่กิ่งหรือลำต้นจะแห้งตายจากปลายลงมา ส่วนของเนื้อไม้ตามกิ่งและลำต้นจะมีรูเล็กๆ บางครั้งจะพบว่ามีน้ำยางไหลออกมาด้วย มะนาวที่เป็นโรคนี้ผลจะมีขนาดเล็กและให้ผลน้อย ถ้าเป็นรุนแรงต้นมะนาวจะแห้งตายอย่างรวดเร็ว

สำหรับการป้องกันมะนาว จากโรคทริสเตซ่านั้น ทำได้โดยป้องกันหรือทำลายแมลงพาหะนำโรค เช่น แมลงประเภท เพลี้ยอ่อน โดยการฉีดพ้นสารเคมี ต่างๆ ตามที่ฉลากกำหนด หรือน้ำส้มควันไม้ และเนื่องจากโรคทริสเตซ่าเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาหรือสารเคมีตัวใตที่จะป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ จึ้นต้องดูแลต้นมะนาวให้สมบูรณ์แข็งแรงเสมอ และคอยตรวจดูตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดไปยังมะนาวต้นอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การตัดแต่งกิ่งต้นมะนาว

การตัดแต่งกิ่งมะนาว

ต้นมะนาว ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ จะพบว่ามีกิ่งก้านแตกออกมารกรุงรัง และอาจจะมีกาฝากหรือฝอยทองเกาะตามกิ่งมะนาวได้ ทำให้กิ่งแห้งและง่ายต่อการที่โรคและแมลงต่างๆเข้าทำลายได้ ต้นมะนาวจะแตกกิ่งก้านสาขามากมายจนไม่ได้รูปทรงตามต้องการ และอาจจะเจริญเติมโตมากอยู่เพียงแค่ด้านเดียว ทำให้โค่นล้มได้ง่าย เนื่องจากการรับน้ำหนักที่มากเกินไปและไม่สมดุล ทำให้ต้นมะนาวไม่เจริญเติมโตอย่างแขจ็งแรง ทำให้มีพื้นที่ออกผลได้น้อย นอกจากนี้ยังทำให้การเข้าไปทำงานในสวนมะนาวทำได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น และเพื่อรักษาทรงพถ่มให้อยู่ในรูปร่างที่เหมาะสม ดังนั้นเราควรที่จะได้มีการตัดแต่งกิ่งมะนาว โดยจุดประสงค์ของการตัดแต่งกิ่งมะนาวก็เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆดังต่อไปนี้

1. เพื่อให้โครงสร้างของต้นมะนาวสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งต้องทำตั้งแต่ต้นมะนาวยังเล็ก โดยเลือกเอากิ่งที่แข็งแรง กิ่งลำต้นกว้าง เนื่องจากเป็นกิ่งที่มีโครงสร้างแข็งแรง โดยกิ่งที่ต้องกำจัดออกก็คือ กิ่งที่มีมุมแคบที่อ่อนแอ กิ่งที่ไขว้กันเกะกะ กิ่งมะนาวที่เติบโตแข่งกับลำต้น ซึ่งกิ่งพวกนี้มักจะไม่ค่อยออกดอกออกผล ซ้ำร้ายยังจะคอยแย่งอาหารอีกด้วย และเมื่อตัดกิ่งพวกนี้ออกต้นมะนาวจะโปร่งและได้รับแสงอย่างทั่วถึงอีกด้วย ทำให้สร้างอาหารได้มาก ต้นจะแข็งแรง และออกดอกออกผลได้ดี

2. เพื่อให้ต้นมะนาวมีรูปทรงและสักษณะต้นที่ต้องการ สะดวกในการทำงาน และการดูแลรักษาสวนมะนาวเป็นไปได้โดยง่าย เช่น การใส่ปุ๋ย การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยวพลผลิตเป็นต้น

3. เพื่อให้มะนาวออกดอกติดผลกระจายทั่วทั้งต้น เนื่องจากได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง การสังเคราะห์ด้วยแสงของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทไให้มีอาหารเพียงพอในการสร้างดอกสร้างผล

4. เพื่อช่วยป้องกันการระบาดของโรค และ แมลงต่างๆ ต้นมะนาวทรงพุ้มที่หนาทึบที่ไม่ได้มีการตัดแต่งกิ่ง จะเป็นที่สะสมของดรคและแมลงต่างๆได้เป็นอย่างดี การตัดแต่งกิ่งออกจะทไให้มีทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึงปริเวณโคนต้น ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงต่างๆได้เป็นอย่างมาก

5. เพื่อลดความเสียหายจากลมแรง เนื่องจากมะนาวทรงพุ่มที่โปร่งย่อมได้รับแรงปะทะของลมได้น้อยกว่าทรงพุ่มที่หนาทึบ การล้มของต้นมะนาว รวมถึงความเสียหายของการแตกหักของกิ่งจะมีน้อยกว่าต้นมะนาวที่ไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่ง

6. ในการตัดแต่งกิ่งมะนาวทุกครั้งจะต้องใช้เครื่องมือที่สะอาดและคม ในระหว่างการต้ด อย่าสร้างรอยแผลให้แก่ต้นมะนาวเกินความจำเป็นศึ่งถ้าเกิดรอยแผลมาก โรคและแมลงจะมีโอกาสเข้าทำลายได้มากขึ้น



ในช่วง 2 ปีแรกของต้นมะนาว ให้ตัดเพื่อรักษา ทรงพุ่มให้อยู่ในรูปทรงที่ต้องการเช่น ทรงสูง ทรงพุ่มแจ้ เป็นต้น และควรตัดเฉพาะกิ่งที่แห้งและอยู่ชิดดินมากเกินไป กิ่งที่ยาวมากก็ตัดให้สั้นลง เมื่อมะนาวมีอายุได้ 3 ปี การตัดแต่งกิ่งในช่วงนี้จะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการตัดแต่งกิ่งเพิ่มให้โครงสร้างและทรงพุ่มสวยงามและเหมาะสม ในระยะจากโคนต้นขึ้นมา 1 เมตร ไม่ควรให้มีกิ่งแขนงอยู่เลย ควรให้เปนทรงต้นที่โดดขึ้นมา ส่วนบนต่อจากนั้นจึงให้เป็นทรงพุ่มได้ กิ่งที่จเำเป็นต้องตัดออกในช่วงนี้ก็คือกิ่งที่แห้งตาย และกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่เกะกะก็ควรที่จะตัดให้สั้นลง กิ่งกระโดงที่มักขึ้นจากลำต้นหรือช่วงกลางลำต้น หรือกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ก็ควรที่จะได้ตัดออกเสีย

สำหรับต้นมะนาวที่ให้ผลแล้ว ควรที่จะทำการตัดแต่งกิ่งปีละครั้ง โดยทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด กิ่งที่ต้ดออกจากต้นก็ควรนำเอาไปเผาไฟ หรือฝังดินอย่าทิ้งกิ่งไว้ตามลำต้น เรพาโรคหลายชนิดสามารถอาศัยอยู่บนกิ่งเหล่านั้นได้ และยังสามารถที่จะระบาดไปยังต้นได้อีกด้วย



วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การกำจัดวัชพืช ให้ต้นมะนาว

การกำจัดวัชพืช ให้ต้นมะนาว

วัชพืชที่ขึ้นอยู่ในสวนมะนาว นอกจากจะเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหารจากต้นมะนาวแล้ว ยังทำให้สวนมะนาวรกรุงรัง เป็นที่อยู่อาศัยของโรค และแมลงศัตรูพืชต่างๆ บางครั้งก็ขึ้นรกตามโคนต้นมะนาวทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้น เกิดความชื้นมาก และเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ง่าย ในสวนมะนาวจึงไม่ควรปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นรกรุงรัง เพราะวัชพืชเหล่านี้จะป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา วัชพืชที่ขึ้นในสวนก็จะมีแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีอายุยืนหลายปี บางชนิดมีช่วงอายุการเจริญเพียง 2-3 เดือน ในการกำจัดวัชพืชก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสวนแต่ละแห่ง

การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวทำได้หลากหลายวิธี เช่น การถอน ถากถาง หรือ การใช้เครื่องตัดหญ้าแบบต่างๆ แต่ถ้าเป็นในสวนมะนาวใหญ่ๆ จะนิยมใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยผ่อนแรง มีทั้งเครื่องตัดแบบติดเครื่งอยนต์สะพายไหล่ และแบบรถตัดหญ้าล้อจักรยาน หรือสวนมะนาวในที่ดอนอาจจะใช้เครื่องตัดหญ้าแบบพ่วงท้ายรถแทรคเตอร์ ซึ่งก็ให้ผลดีและประหยัดแรงงานได้มาก แต่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีเหล่านี้จะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้นมะนาว หรือกระทบกระเทือนถึงระบบราก หรือตามกิ่งมะนาว ที่อยู่ต่ำๆ ติดดิน เพราะจะทำให้เชื้อโรคและแมลง เข้าทำลายได้ง่าย

การตัดหญ้าหรือวัชพืชควรที่จะกำจัดออกให้หมด หรือเหลือไว้ในระดับเตี้ยๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละสวน บางสวนเอาหญ้าออกจนเหลือแต่ดินโล่งๆ บางแห่งจะตัดออกเฉพาะส่วนที่อยู่สูงๆ เหลือตอไว้คลุมดินเพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน หญ้าหรือเศษวัชพืชที่ตัดออกนั้น บางครั้งก็นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเอาคลุมโคนรอบๆ ต้นมะนาวช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป้องกันดินแห้งเร็วโดยไม่ต้องคอยรดน้ำบ่อยๆ และเมื่อวัชพืชเหล่านี้เน่าเปื่อยก็จะกลายเป็นปุ๋ยช่วยบำรุงดินต่อไปได้อีก อย่างไรก็ตามการใช้วัชพืชคลุมโคนต้นมะนาวนั้น ไม่ควรที่จะคลุมให้สุมโคนต้นหรือชิดต้น แต่ควรที่จะวันระยะห่างจากโคนต้นออกมาพอสมควร เพราะต้นมะนาวที่ปลูกโดยทั่วๆไปนั้นมีโรคทางดินรบกวนอยู่เสมอ หากใช้วัชพืชสุมโคนต้นมะนาวหรือคลุมติดโคนต้นมากเกินไป จะทำให้โคนต้นชื้นแฉะทำให้เกิดโรคทางดินต่างๆ เช่นโรครากเน่า ในต้นมะนาวได้ง่าย

วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากในสวนมะนาวคือ การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ยาฆ่าหญ้า ซึ่งการใช้สารเคมีพวกนี้ต้อมีความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการใช้ และรู้จักสารเคมีกำจัดวัชพืชนั้นๆเป็นอย่างดี ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ต้นมะนาวขึ้นได้ ชนิดของสารเคมีที่ใช้กันทั่วๆไปมากมาย เช่น พาราขวิท, โกลโฟเสท เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นสารจำพวกที่ทำให้ส่วนสีเขียวของวัชพืชแห้งตาย เมื่อฉีดเข้าไปแล้วหญ้าต่างๆ จะใบเหลืองแห้งตายไป ซึ่งสารพวกนี้ถ้าปลิวไปถูกต้นมะนาวก็อาจจะทำให้ต้นมะนาวเกิดอันตรายได้เช่นกัน เช่นทำให้ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบหากถูกกับยามากๆ เนื้อใบเป็นแผลยุบตัว ของแผลฉ่ำน้ำมีสีเขียว หรือสีเขียวอมน้ำตาล การใช้สารเคมีพวกนี้จึงควรที่จะใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่น ฉีดพ่นตอนลมสงบ อย่าฉีดสูง และที่พบได้บ่อยก็คือ เมื่อใช้เครื่องฉีดพ่นแล้วลืมล้างหรือล้างเครื่องพ่นไม่สะอาด เมื่อนำเครื่องไปฉีดพ่นยาฆ่าแมลงจะทำให้ต้นมะนาวเสียหายได้ทั้งต้น

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการทำให้มะนาวออกผล ฤดูแล้งแบบง่าย



การทำให้ต้นมะนาวมีการผลัดใบ เพื่อการแตกยอดใหม่และออกดอกนั้น เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ที่จะช่วยกระตุ้นให้ต้นมะนาวออกดอก ออกผลในฤดูแล้ง ซึ่งเราสามารถที่จะทำได้ 3 วิธี ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

ต้นมะนาวออกผลนอกฤดู


1. งดการให้น้ำแก่ต้นมะนาว ระยะหนึ่งจนกระทั่ง ต้นมะนาวมีใบเหี่ยวและเหลื่องพอประมาณ จากนั้นจึงค่อยๆ ให้น้ำทีละน้อย และเพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้น จนกระทั่งมะนาว ฟื้นจากอาการใบเหี่ยว ต่อจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยเร่งดอก สูตร 12-24-12 หรือ สูตร 9-27-27 หรือ อาจจะใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เช่น กระดูกป่น มูลสัตว์ หรืออาจจะ โปแตสเซียมซัลเฟตใส่รอบๆ โคนต้นมะนาวก็ได้ ซึ่งจะทำให้ต้นมะนาว แตกดอกได้ดีขึ้น

2. งดการให้น้ำแก่ต้นมะนาว ประมาณ 7-15 วัน จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มะนาวแตกยอดอ่อนจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยเร่งดอก

3. ให้ปุ๋ยบำรุงต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ด้วยการให้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 จากนั้นให้งดให้น้ำแก่ต้นมะนาวประมาณ 1 เดือน หรือจนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม พอเข้าสู่ เดือนกันยายน ให้ใส่ปุ๋ยเร่งดอกแก่ต้นมะนาว พอถึงเดือนตุลาคมก็เร่งบำรุงต้นมะนาวและผลให้สมบูรณ์ด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 (สูตรเสมอ) โดยช่วงกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน เราก็จะเก็บเกี่ยวผลมะนาวไปขายได้

หมายเหตุ ช่วงที่ต้นมะนาวแตกใบใหม่และเริ่มออกดอก เกษตรกรควรเอาใจใส่ บำรุง และ ป้องกันแมลง และศัตรูพืช ตัดแต่งกิ่งใบ และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตอนกิ่งมะนาว

การตอนกิ่งมะนาว เป็นขั้นตอนการขยายพันธุ์ ที่นิยมใช้กันมานาน และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในบรรดาชาวสวนมะนาว วิธีขยายพันธุ์มะนาวด้วยการตอนกิ่ง นั้นเป็นวิธีการขยายพันธุ์ ที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ในการตอนกิ่งที่รู้จักกันดีในแถบทวีปยุโรปซึ่งเรียกว่า การตอนทับกิ่ง หรือ การตอนกิ่ง แบบหุ้มกิ่ง ซึ่งในการตอนหุ้มกิ่ง นั้นก็มีหลายหลายวิธี เช่น แบบการทำให้ต้น หรือกิ่งพืชแตกราก ในขณะที่ยังติดอยู่กับลำต้น หลังจากกิ่งมะนาวแตกรากแล้วจึงตัดไปปลูกภายหลัง ฉะนั้นโอกาสของการที่กิ่งพืชสามารถรอดนั้น จะดีกว่าการวิธีการตัดชำ แต่ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่า จะทำให้ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่ามาก ด้วยเหตุนี้ถ้าต้องการต้นพืชจำนวนมากๆ จึงไม่นิยมใช้การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เว้นแต่ว่าต้นพืชนั้นจะขยายพันธุ์ไม่ได้ด้วยการตัดชำ หรือแตกรากได้ยากกว่า วิธีการตอนกิ่ง ส่วนการตอนกิ่งอีกแบบ คือการตอนกิ่ง แบบชาวจีน หรือแบบที่เราชาวไทยนิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการตอนกิ่งพืชประเภทไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพืชจำพวกไม้ผล และไม้ประดับ เช่น มะนาว ลำไย ลิ้นจี่ ละมุด ส้มเขียวหวาน กุหลาบ ส้มโอ มะลิ เป็นต้น ส่วนวิธีการตอนนั้นปฏิบัติเป็นขั้นๆ ดังนี้
ขั้นแรกเราจำเป็นต้อง เลือกกิ่งพันธุ์ หรือต้นมะนาวที่จะตอน จะต้องเป็นกิ่งที่ ไม่อ่อน และไม่แก่จนเกินไป มีใบดก และไม่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืช ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดยปกติมักจะเลือกกิ่งกระโดง นั้นเอง
ขั้นต่อมาคือ การทำแผลบนกิ่งพันธุ์ การทำแผลบนกิ่งมะนาว นั้นต้องเริ่มจากการควั่นให้เป็นแผล 2 รอยโดยแต่ละรอยจะห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตร จากน้ำทำการลอกเปลือกของส่วนที่อยู่ระหว่ารอยแผลออก หากส่วนนั้นมีหนามก็ให้ทำการตัดหนามทิ้ง ส่วนการขูดผิวบางๆของรอยแผล เพื่อตัดระบบการส่งสำเลียงอาหาร มะนาวไม่จำเป็นต้องขูดออกเพราะมะนาวไม่ใช่พืชประเภทที่มียาง
จากนั้น ให้ทำการทาฮอร์โมนเร่งราก โดยให้ทาบริเวณที่ทำแผล หรือบริเวณที่กิ่งจะเกิดราก จะช่วยให้กิ่งมะนาวแตกรากดี คือ มีรากมากขึ้น และเจริญเติบโตได้เร็ว ซึ่งการทาฮอร์โมนปกตินั้น จะทาเฉพาะบริเวณที่จะเกิดรากเท่านั้น เช่น บริเวณที่เป็นรอยควั่นของแผลด้านบน โดยการตอนมะนาวนั้นฮอร์โมนเร่งรากแบบเข้มข้น เพราะมะนาวแตกรากได้ง่ายอยู่แล้ว และให้ผลการตอนที่ดีกว่าการใช้แบบเข้มข้น

จากนั้นให้ทำการหุ้มกิ่งตอน วัตถุที่จะใช้หุ้มกิ่งตอนอาจใช้วัตถุต่างๆ ได้หลายอย่าง แต่ที่แนะนำการนำขุยมะพร้าว โดยนำไปแช่น้ำพอหมาดๆ แล้วทำการบรรจุขุยมะพร้าว ในถุงพลาสติกขนาดเล็ก แล้วมัดปากให้แน่ด้วยเชือกฝางหรืออาจจะเป็นยางยืดก็ได้ โดยการหุ้มกิ่งนั้นให้ทำการผ่าถุงพลาสติกที่บรรจุขุยมะพร้าว จากนั้นนำถุงอัดขุยมะพร้าวมาทำการหุ้มตรงรอยที่เกิดจากการควั่น ทาฮอโมนเร่งรากแล้ว แล้วให้ทำการมัดด้วยเชือกฟางด้านหัวและด้านท้ายของถุงอัดขุยมะพร้าวโดยไม่จำเป็นต้องมัดแน่นจนเกินไป เนื่องจากถ้ามัดแน่นจนเกินไปจะทำให้น้ำและความชื้นไหลออกทางรอยผ่า นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือรอยแผลผ่าของถุงที่บรรจุขุยมะพร้าวนั้น จะต้องหงานขึ้นด้านบนเสมอ เพื่อลดการสูญเสียน้ำและความชื้น และถ้มีฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะสามารถไหลเข้าไปข้างในได้ตามรอย

ขั้นตอนสุดท้าย หลังจากตอนกิ่งตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วนั้น ประมาณ 12-21 วัน รากของมะนาวจะเริ่มออกมาให้เห็น แต่สำหรับกิ่งมะนาวที่เหมาะสมกับการตัดไปเพาะลงถุงดำ ควรเป็นกิ่งตอนที่มีอายุระหว่าง 21-28 วันจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีปลูกมะนาวนอกฤดู ในกระถางต้นไม้

อาจกล่าวได้ว่า ต้นมะนาวเป็นไม้ผลหรือจะเป็นพืชสวนครัวเดียว ที่มีความจำเป็นอย่างสูงและอยู่คู่กับการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ของคนไทยมาอย่างยาวนาน ฤดูกาลที่มีผลมะนาวออกสู่ตลาดมากที่สุดก็คือช่วง เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนของทุกปี ส่งผลทำให้ช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมนั้น ผลมะนาวมีราคาที่แพงมากๆ เนื่องมาจากผลผลิตของมะนาวได้ออกมาน้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จึงได้ให้ทุนในการสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับเทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดู โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการให้ผลผลิต ของผลมะนาวมีเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศในช่วงที่มะนาวแพง และที่สำคัญกว่านั้นคือ การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ให้มีรายได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย โดยทางเลขาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ทำการเปิดเผยว่า สาเหตุที่มะนาวมีราคาสูงถึงลูกละ 8 บาท ถึง 10 บาทนั้น ว่าเป็นเพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง ทำให้มะนาวออกลูกได้น้อย และพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งยังได้รับผลกระทบเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ดังนั้น จึงต้องหาวิธีให้มีผลมะนาวออกจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อแก้ปัญหา มะนาวแพงให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้นจึงจะขอนำเทคนิคการ ผลิตผลมะนาวออกนอกฤดูในกระถาง ที่ทางการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ทุนส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยแก่ อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ เลขาธิการ วช. ได้เปิดเผยต่อว่าอีกว่า การบังคับให้ต้นมะนาวออกลูกออกผล นอกฤดูทำได้หลายวิธี วิธีที่ง่ายและเหมาะสำหรับเกษตรกร ที่มีพื้นที่น้อยคือการปลูกมะนาวในกระถาง ซึ่งวิธีที่นิยมมากที่สุดคือการใช้กิ่งตอน ซึ่งจากการศึกษา พบว่า เมื่อปลูกมะนาวพันธุ์แป้นทวาย ในกระถางสามารถเจริญเติบโตได้ดีไม่ต่างกับการปลูกลงดิน แต่ข้อสำคัญของการปลูกมะนาวในกระถางจะต้องตั้งกระถางไว้กลางแจ้งเพื่อให้ได้รับแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน ในการที่จะบังคับให้ต้นมะนาวติดผลควรทำเมื่อปลูกมะนาวประมาณ 8-10 เดือน ตัดแต่งกิ่งแขนงและกิ่งที่มีโรค กิ่งที่ติดดอกและผลออกให้หมด จากนั้นงดให้น้ำในเดือนตุลาคมประมาณ 7-10 วัน เมื่อสังเกตเห็นใบมะนาวเหี่ยวหรือใบสลดและอาจมีใบร่วงบ้างให้เริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ปริมาณ 1 ช้อนแกงรอบๆ ขอบกระถาง และรดน้ำตามทันที หลังจาก 15 วัน มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกเป็นสีขาว ช่วงนี้สามารถพ่นสมุนไพรน้ำส้มควันไม้หรือยาฆ่าแมลงอะบาเม็กตินผสมกับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันโรคและแมลง หลังจากติดดอกแล้ว 4 เดือนก็สามารถเก็บผลมะนาวได้ ศ.นพ.สุทธิพร ยังอธิบายต่ออีกว่า การวิธีในการดูแลรักษามะนาวที่ปลูกใหม่ควรให้น้ำวันละหนึ่งครั้ง หลังจากปลูก 10-15 วัน ให้น้ำวันเว้นวัน เมื่อมะนาวตั้งตัวได้ให้ใช้เศษหญ้าหรือฟางคลุมโคนต้นไว้ 3 วันให้น้ำ 1 ครั้ง แต่ในช่วงมะนาวติดดอกออกผลต้องให้น้ำทุกวัน เพราะต้นมะนาวนั้นต้องการน้ำมาก การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เดือนละครั้ง ครั้งละ 1 ช้อนแกงแล้วรดน้ำตาม ช่วงก่อนออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 ช้อนแกง หากดินในกระถางพร่องให้เติมมูลวัวที่ย่อยสลายแล้วเท่าระดับดินเดิมที่ใส่ไว้ ในการกำจัดวัชพืชต่างๆได้โดยใช้วิธีการถอนปกติ เมื่อมะนาวติดผลกิ่งอาจโน้มลงให้ทำนั่งร้านรอบกระถางเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักจากผลของมะนาว และควรที่จะตัดแต่งกิ่งเป็นประจำ เมื่อผลมะนาวเริ่มเป็นสีเขียวอ่อน ผิวเรียบบางใส ก็สามารถเก็บมารับประทานหรือจำหน่ายก็ได้ แค่นี้ก็สามารถรับมือกับราคามะนาวที่ขึ้นลงได้ตลอดทุกฤดูกาล แถมยังได้ผลมะนาวออกนอกฤดูในรูปไม้ประดับสวนที่กินได้ด้วย

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การปลูกมะนาวในฤดูต่างๆ


สำหรับประเทศไทยนั้นมีฤดูกาลทั้งหมด 3 ฤดูด้วยกันคือ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว สำหรับการปลูกมะนาวนั้น จะต้องเลือกฤดูกาลในการปลูกให้เหมาะสม นั้นเป็นเพราะ มะนาวเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามะนาวต้นเล็กที่เพิ่งปลูกใหม่ ระบบรากของมะนาวยังอ่อนแอมาก สภาพอากาศในช่วงที่เราปลูกจะมีผลกระทบอย่างมากกับต้นมะนาว สำหรับข้อดี และข้อเสียของการปลูกต้นมะนาวในแต่ละช่วงฤดู มีดังนี้
ฤดูร้อน มีอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง โดยจะมีปริมาณฝนที่น้อยมาก โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32-35 องศา เซลเซียส แต่ในภาคใต้นั้น อุณหภูมิเฉลี่ย จะต่ำกว่า โดยอยู่ระหว่าง 26-30 องศา เซลเซียส การปลูกมะนาวช่วงฤดูร้อนนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบบน้ำ จะต้องมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องโรคระบาดต่างๆของต้นมะนาว เช่น โรคแคงเกอร์ โรคเชื่อราต่างๆ จะไม่มีมารบกวนในช่วงนี้ แต่ที่สำคัญ ที่สุดคือเรื่องการให้น้ำ ที่จะต้องมีแหล่งน้ำให้ต้นมะนาวได้ตลอดในช่วงนี้ และเมื่อย่างเข้าหน้าฝนจะเป็นช่วงที่มะนาวตั้งตัวได้พอดี ดังนั้นการเจริญเติบโตจะค่อนข้างดีสำหรับช่วงการปลูกในฤดูร้อนนี้

ผลมะนาว


ฤดูฝน นั้นจะมีพายุ และลมแรง ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือ ในภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี การปลูกช่วงนี้ฟังดูเหมือนจะดีว่าน้ำท่าสมบูรณ์ดีไม่ต้องมีแหล่งน้ำก็ได้เพราะอาศัยน้ำฝนแทน แต่ถ้าในภาคปฎิบัติจริงแล้วเป็นช่วงการปลูกมะนาวที่ไม่ดีเลย มะนาวที่ปลูกใหม่ระบบรากยังไม่แข็งเรงเมื่อพื้นดินแฉะมากๆ จากฝนที่ตกติดต่อกันหลายๆวัน จะส่งผลให้รากมะนาวมีปัญหาได้ ทำให้การดูดธาตุอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้ใบมะนาวมีขนาดเล็กและมีสีเหลือง แต่หากท่วมขังก็จะตายอย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน สำหรับโรคต่างๆของมะนาว เช่นโรคแคงเกอร์ก็จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากฝนตกชุกทำให้มีปัญหาในการพ่นยาป้องกัน รวมถึงแมลงศัตรูพืชต่างๆด้วย

ฤดูหนาว มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส ช่วงนี้หากปลูกมะนาว อากาศมีความชื้นสูง จะส่งผลกระทบ ทำให้การเจริญเติบโตเชื้อราต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงนี้ สำหรับประเทศไทยเราอากาศจะหนาวเย็นแห้งแล้งความชื้นสูง แต่ข้อดีของการปลูกฤดูหนาวนี้ก็คือจะได้ผลมะนาวออกพอดีสำหรับการขายในฤดูแล้งของปีถัดมาทันที

การปลูกมะนาวจริงๆแล้ว สามารถที่จะปลูกได้ทั้งปี อย่างไรก็ดี ควรดูสภาพอากาศของแต่ละช่วงปีเพราะประเทศไทย ระยะหลังๆนี้อากาศมักแปรปรวนไม่สามารถคาดการณ์ได้ บางปีน้ำมากฝนมาเร็ว บางปีแห้งแล้งฝนน้อย ดังนั้นเราจึงควรดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากสภาพอากาศแล้ว ก็คือการเอาใจใส่ดูแลอย่างต้นมะนาวนั้นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

การปลูกมะนาวในน้ำ

การปลูกมะนาวในน้ำ
มะนาว เป็นพืชผักสวนครัวที่จำเป็นมากในชีวิตของคนไทย ไม่ว่าอาหารไทยหลากหลายชนิด การปลูกมะนาวด้วยวิธีการต่างๆ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมของมะนาว ให้มะนาวออกผลในช่วงที่มะนาวออกผลน้อย ตามธรรมชาติ เช่นในเดือน มีนาคม เมษายน ซึ่งผลมะนาวก็แพงมาก จึงมีความพยายามในการปลูกมะนาว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกมะนาวในบ่อบ้าง ในโอ่งบ้าง เพื่อให้ที่จะสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มะนาว แต่การปลูกมะนาวในน้ำก็เป็นอีกวิธีนึง ที่สามารถใช้ในการปลูกมะนาวเพื่อที่จะทำออกนอกฤดู โดยการปลูกมะนาวในถังดำ ซึ่งเป็นถังพลาสติกใส่น้ำ โดยเจาะฝาถังแล้วใส่กระถางพลาสติกสวมเข้าไปที่ฝาถัง โดยเราจะปลูกโดยในถังจะเป็นน้ำ โดยปลูกมะนาวในกระถางด้านบน โดยให้รากมะนาวห้อยลงไปในน้ำ ในน้ำจะเป็นปุ๋ยที่เราสามารถที่จะควบคุมปริมาณปุ๋ยได้ และ ในถังพลาสติกจะมีน้ำพุเพื่อให้น้ำพ่นโดนรากมะนาว สำหรับน้ำพุที่ใช้เป็นน้ำพุที่หาซื้อได้ทั่วๆไปเป็นน้ำพุที่ใช้สำหรับบ่อปลาทั่วๆไป สำหรับการบังคับให้มะนาวผลนอกฤดู เราจะต้องบังคับให้มะนาวออกดอกในเดือนตุลาคม แล้วผลมะนาวที่ได้จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเมษายน สำหรับผลมะนาวนั้นจะมีน้ำเยอะ เพราะการปลูกมะนาวในน้ำ ต้นมะนาวจะได้น้ำอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำให้ผลผลิต สำหรับการชยายพันธุ์มะนาวสำหรับ ลูกในน้ำ ทำได้โดยวิธีตอนกิ่ง ไว้ประมาณ 1 เดือนแล้วน้ำกิ่งที่ได้มาปลูกในน้ำต่อไป การปลูกมะนาวด้วยน้ำเป็นวิธีที่ใช้ต้นทุนต่ำมาก เพราะว่าไม่ต้องเตรียมดิน ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เยอะ

ที่มา youtube

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะนาว พันธุ์หนัง

มะนาว หนัง

มะนาวหนังเป็นมะนาวพันธุ์หนึ่ง มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2 - 5 เมตร แตกกิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นเหลี่ยมสีเขียวจาง และเมื่อโตขึ้นจะมีลักษณะกลมและมีสีที่เข้มขึ้น จนเป็นสีน้ำตาลในที่สุด ตามลำต้นและกิ่งจะมีหนามแหลมกระจายทั่วไป ลักษณะของใบมะนาวพันธุ์หนังนี้ เมื่อยังออกจะมีสีเขียวอ่อนเกือบขาว และจะมีสีเขียวเข้มขึ้นเมื่อใบมะนาวแก่ขึ้น ผิวใบจะมีความละเอียดเป็นมัน และมีรูปไข่ ปลายใบค่อนข้างป้าน และมันจะมีร่องตื้นและลึกสลับกัน ทำให้แลดูเป็นหยักละเอียดๆ แผ่นใบมีความกว้างประมาณ 4 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 7 เซ็นติเมตร สำหรับดอกมะนาวพันธุ์หนัง เมื่อออกดอก ดอกจะมีสีเขียวในตอนแรก และเมื่อโตขึ้นดอกมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกบานกลีบในจะเห็นมีปลายแหลม เกสรตัวผู้มีสีเหลือง ความกว้างดอกจะกว้างประมาณ 2 - 3 เซ็นติเมตร และเมื่อดอกมะนาวได้รับการผสม จะการเป็นผลและพบว่าผลอ่อน มีลักษณะกลมยาว คล้ายลูกรักบี้ และเมื่อผลมะนาวหนังโตขึ้นจะเริ่มกลมมนขึ้น เมื่อผลมะนาวโตเต็มที่จะมีลักษณะกลมยาว หัวท้าย มนและมีจุกเล็กๆที่หัว ผิวเปลือกมะนาวจะเรียบและบาง เมล็ดทีลักษณะเรียบ มะนาวพันธุ์หนังนี้จะมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมมาก

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเก็บเกี่ยวผลมะนาว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะนาวนั้น ควรที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงที่ผลมะนาวยังห่ามอยู่ ซึ่งด้านข้างขั้วของมะนาวจะเริ่มทีสีเหลืองเล็กน้อย ผิวเปลือกจะเรียบ บางใส และมีสีเขียวอ่อนกว่าผลมะนาวที่ งไม่แก่ ถ้าใช้มือจับดูจะรู้สึกนิ่มมือ และไม่ควรที่จะปล่อยให้ผลมะนาวแก่เกินไป เพราะจะทำให้ผิวมะนาวมีความบางมากและเสียหายและช้ำได้ง่ายจากการขนส่ง และจะทำให้ผลมะนาวนั้น ม่สามารถที่จะเก็บไว้ได้นานอีกด้วย นอกจากนี้ยังจะทำให้กลิ่นและรสเปลี่ยนไปอีกด้วย สำหรับการเก็บผลมะนาวนั้น ถ้าเป็นมะนาวที่ไม่สูงมาก ก็อาจจะใช้การเก็บด้วยมือได้ คือการปลิดออกมาจากต้น สำหรับต้นมะนาวที่มีความสูงมากๆ ก็อาจจะต้องใช้อุปกรณ์ในการตัด เก็บมะนาวลงมา สำหรับการปลูกมะนาวในที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอ มะนาวมักจะออกผลได้ตลอดทั้งปี คือเมื่อผลแก่ก็จะผลิดอกรุ่นต่อไป แต่สำหรับที่ที่ขาดน้ำ มะนาวก็จะออกผลได้น้อยและไม่สามารถออกผลได้ทั้งปี และกว่าจะออกผลก็ต้องใช้เวลาที่นาน สำหรับต้นมะนาวจะออกผลได้ 150 ผลขึ้นไป แต่สำหรับต้นที่มีอายุมากขึ้นและมีความอุดมสมบูรณ์ อาจจะออกผลมะนาวได้ถึงต้นละ 800 ผลเลยทีเดียว

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ถิ่นกำเนิดของมะนาว

ถิ่นกำเนิด และการกระจากสายพันธุ์ของต้นมะนาว


ถิ่นกำเนิดของต้นมะนาว นั้นเราไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด หลายคนกล่าวว่าเป็นต้นไม้ พื้นเมืองในประเทศอินเดีย และประเทศในแทบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี มีคนกล่าวว่า ต้นมะนาวนั้นเป็นพืชพื้นเมือง ทางหมู่เกาะอินเดียตะวันออก จากนั้นได้แพร่กระจาย ไปสู่แผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม ต้นมะนาว ได้แพร่พันธุ์ไปยังส่วนต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตภูมิอากาศร้อน และกึ่งร้อนอย่างแพร่หลาย
และได้มีผู้สันนิษฐาน ว่า ชาวอาหรับเป็นผู้นำมะนาวจากอินเดีย
ไปกระจายพันธุ์ในประเทศปาเลสไตน์ อียิปต์ และในทวิปยุโรป หลังจากนั้นมะนาวก็ได้แพร่กระจายไปยังหมู่เกาะ
อินเดียตะวันตกและเข้าสู่ทวิปอเมริกา โดยตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่
16 เป็นต้นมาโดยนักสำรวจชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นคนนำไปปลูก
สำหรับ มะนาวในประเทศไทยนั้นเชื่อว่า การปลูกมะนาวมีมายาวมานแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์
เสียอีก และได้มีการปลูก กันมาเรื่อยๆ จนถึงในปัจจุบัน ในสมัยก่อนมักมีการปลูกมะนาวไว้ เพื่อนำผลมาใช้ประกอบอาหารต่างๆเฉพาะ
ในครัวเรือนเท่านั้น โดยจะปลูกมะนาวกันเกือบทุกบ้านเรือน แต่ยังไม่มีใครคิดจะปลูกมะนาวเป็นการค้าอย่างจริงจัง
ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น จึงมีพื้นที่ทำการเกษตรที่ลดน้อยลง
เนื่องจากนำพื้นที่ไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรม และด้านอื่นๆ ประกอบกับจำนวนประชากร
ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จึงทำให้ความต้องการมะนาวไปใช้ในการปรุงอาหารในครัวเรือน และใช้มะนาวในเชิงอุตสาหกรรมต่างๆมีมากขึ้น ดังนั้นจึงมีผู้หันมาปลูกมะนาวในเชิงการค้า
โดยใช้พื้นที่ปลูกมากๆ มีการปฏิบัติดูแลรักษาตามหลักการที่ถูกต้อง
มีการปรับปรุง วิธี และขั้นตอนในการปลูกมะนาว และวิธีเพิ่มผลผลิตของผลมะนาว
ต่อพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งในประเทศไทยมีแหล่งปลูกที่สำคัญๆในหลายๆจังหวัด ได้แก่
จังหวัดเพชรบุรี อยุธยา ราชบุรี เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

การปลูก มะนาวในวงบ่อ ทำมะนาวออกนอกฤดู

ปรกติแล้ว ผลผลิตของมะนาว จะออกในช่วงฤดูฝน ซึ่งมักเกิดปัญหาราคาตกต่ำ การผลิตมะนาวนอกฤดู จึงเป็นแนวทางการแก้ปัญหา ในทางการตลาดได้ดี แต่การทำมะนาวนอกฤดู ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยเทคนิก หลายหลายประการเข้าช่วย และยังต้องอาศักการเอาใจใส่ จึงได้ผลผลิตที่คุ้มค่า จากการที่มีคนทดลอง ปลูกมะนาวพันธ์ แป้นรำไพ และ มะนาวตาฮิติ ในวงบ่อซีเมนต์ นอกฤดูที่จังหวัด สุโขทัย พบว่าการจะปลูกมะนาวนอกฤดูให้ได้ผล ดินที่ใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อ ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ และระบายน้ำได้ดี เกษตรกรจึงควรผสมดินขึ้นเอง จากดินร่วน 3 ส่วน เปลือกถั่วเหลือง 2 ส่วน และมูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วผสมปุ๋ย สูตรเสมอลงไปเล็กน้อย การปลูกควรจัด เป็นแถวคู่ระยะ ห่าง 1.5 เมตร คูณ 1.5 เมตร เว้นทางเดิน ระหว่างแถวคู่ไว้ 2 เมตร เพื่อประหยัดแรงงาน เกษตรกรก็สามารถ ที่จะใช้ระบบการให้น้ำ แบบมินิสปริงเกอร์ มีระบบปิดเปิด ซึ่งเป็นการลงทุน ต่อต้นมะนาวประมาณ 350 บาท สำหรับต้นมะนาว ที่พร้อมจะให้ผล นอกฤดูนั้น ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป สำหรับวิธีการบังคับ ให้มะนาวออกนอกฤดูนั้น เริ่มจากเดิอนกันยายน เกษตรกร ต้องงดให้น้ำจนใบมะนาวเริ่มร่วง เหลือใบเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้น ให้ทำการให้ปุ๋ยเร่งดอก 12-24-12 ต้นละประมาณ 1 กำมือ จากนั้นให้ฉีดน้ำ ให้ปุ๋ยละลายลงดิน หลังจากนั้น 15 วัน มะน้ำก็จะออกใบอ่อน พร้อมดอก จึงให้ปุ๋ยชีวภาพ ที่หมักขึ้นเองจากมูลสัตว์ หอยเซอร์รี่และ เชื้อจุลินทรีย์ เพื่อประหยัดต้นทุน จากนั้นน้ำปุ๋ยไปผสมน้ำ ให้ต้นมะนาวตามระบบท่อ ทุก 5 วัน ในช่วงที่เริ่มติดดอกนั้น อาจจะมีเพี่ยไฟ และหนอนชอนใบ ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกมะนาว อาจจะต้องใช้ สารเคมีในการกำจัด สำหรับปุ๋ยชีวภาพ ก็ต้องให้ต่อเนื่อง ไปตลอดแม้จะ เป็นช่วงที่ออกผลแล้ว หรือจะเสริมโดนการ ฉีดพ่นทางใบด้วยก็ได้ สำหรับมะนาว ที่มีใบเหลือง อาจจะเป็นเพราะ ขาดธาตุเหล็กและ สังกะสี ให้นำธาตุอาหารเหล่านั้น มาเสริมให้ต้นมะนาวเพิ่มเติม ผลมะนาวนอกฤดู ก็จะพร้อมเก็บผลผลิตได้ ในเดือนเมษายน โดยต้นมะนาว จะติดผลประมาณ 4 เดือนครึ่งถึง 5 เดือน หากเป็นมะนาวพันธุ์ แป้น รำไพ
จะให้ผลผลิตต้นละประมาณ 150 ผล สำหรับมะนาวตาฮิติ จะให้ผลผลิตต้นละประมาณ 100 ผล
จำหน่ายได้ในราคาผลละ ประมาณ 3 บาท สำหรับการผลิตมะนาวนั้น เกษตรกร สามารถทำการ ลดต้นทุนได้ ด้วยการผสมปุ๋ยชีวภาพ หรือสารไล่แมลง ชีวภาพใช้เอง ซึ่งสามารถลดต้นทุน จากการใช้สารเคมีกว่าครึ่ง แม้ว่าการปลูกมะนาวนอกฤดู จะมีต้นทุนที่สูงกว่า การปลูกมะนาวทั่วไป และมีกรรมวิธีที่ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
แต่ถ้าปฏิบัติได้ ก็จะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า : ที่มา สรุปจากรายการสารคดีเกษตร

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

มะนาวช่วยระบบการย่อย

มะนาว นั้นสามารถที่จะช่วยระบบการย่อยอาหารและยังช่วยสกัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้ด้วย พวกเราหลายๆคน ที่ปมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่มากเกินความต้องการ โดยสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหานี้ ก็คือ ระบบการย่อยอาหาร ที่ไม่ทำงานอย่างปกติ ทำให้ร่างกายของเรา ไม่สามารถรับสารอาหาร ที่จำเป็นในการเผาผลาญไขมัน ทำให้เกิดมีสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งกำจัดออกไปจากร่างกายได้ยาก แต่ มะนาว นั้นสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เนี่องจาก ผลมะนาว นั้นอุดมไปด้วยกรดไซตริก ซึ่งเป็น AHA ชนิดหนึ่ง ซึ่งสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่นทุกๆ ประเภท หากเรานำ น้ำมะนาวมาผสม ร่วมกับโปรตีน และกรดอื่นๆ แล้วละก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการ ช่วยกระตุ้น น้ำย่อยในกระเพาะให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนและวิธีการ ใช้มะนาวในการ ช่วยระบบการย่อยอาหาร



1. ให้ดื่มน้ำมะนาว ที่ผสมกับน้ำอุ่นทุกเช้า เป็นการกระตุ้น
ให้ระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น และนอกจากนี้ มะนาว ยังเป็น
ผลไม้ที่มี เกลือแร่ต่างๆ ลัวยังมี วิตามินซี มากที่สุดชนิดหนึ่งอีกด้วย ซึ่งวิตามินซี นั้นไม่เพียงแต่ จะดีสำหรับช่วยลดไข้ แล้วยังมีผลการวิจัยระบุว่าการกินผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง จะมีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหาร และยังจะช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ได้ดีกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วย นอกจากนี้ มะนาวยังสามารถ ช่วยให้ร่างกายดูดซึม แคลเซียมให้สามารถถูกกักเก็บเอาไว้ในเซลล์ไขมัน ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแคลเซียมที่ถูกเก็บไว้นี้จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดียิ่งขึ้น

2.น้ำมะนาวนั้นสามารถที่จะช่วยในการ ปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสโลหิตได้ด้วย โดยการบีบน้ำมะนาวผสมลงไปในมื้ออาหารต่างๆ หรือผสม เปลือกมะนาวลงไปในน้ำซุปหรือสลัด หรืออาหารจานหลักแล้ว บีบน้ำมะนาวลงไปเพียงเล็กน้อย ก่อนรับประทาน แล้วคุณจะรู้ว่ามะนาว เป็นผลไม้มหัศจรรย์ เพราะมะนาวจะช่วยให้ระบบ การย่อยอาหารดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ระดับน้ำตาลในกระแสโลหิตมีความสมดุลอีกด้วย